บาร์โค้ดมีกี่ประเภท?
บาร์โค้ดประเภทต่างๆ
บาร์โค้ดมีหลากหลายมาตรฐานในการจัดทำ สิ่งที่เหมือนกัน คือ รูปร่างเป็นแท่งขาวสลับดำ ที่มีความห่างแตกต่างกันแต่สิ่งที่แตกต่างคือ ขนาดของความยาว,ความสามารถในแปลตัวอักษร บางชนิดอาจจะแต่ตัวเลข บางชนิดใช้ได้ ทั้งตัวเลขและตัวอักษร บาร์โค้ดมี 2 ประเภทหลัก คือ บาร์โค้ดแบบ 1 มิติ (1D) และบาร์โค้ดแบบ 2 มิติ (2D)
บาร์โค้ดแบบ 1 มิติ (1D)
บาร์โค้ดประเภทนี้มีลักษณะเป็นแท่งสีดำกับสีขาว วางสลับเรียงกันในแนวดิ่ง มีความหนาและความบางของแต่ละเส้นไม่เท่ากัน บาร์โค้ดแบบ 1 มิติจะเหมาะกับการใช้งานทั่วไป ใช้กับสินค้าที่ไม่ต้องการพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลเยอะ แสดงเพียงข้อมูลที่จำเป็น เช่น ชื่อสินค้า, วันหมดอายุ, รหัสเฉพาะสินค้า, เลขสมาชิก, เลขล็อตที่ผลิตสินค้า บาร์โค้ดแบบ 1 มิติที่มีการพิมพ์บาร์โค้ดใช้กันอย่างแพร่หลายในบ้านเรามีอยู่ 3 ชนิด คือ EAN 13, Code 39 และ Code 128
CODE 39
เป็นโค้ดรุ่นเก่า แต่ยังมีความนิยมในการใช้งานอยู่ ใช้กับงาน Inventory และตรวจติดตาม สามารถบรรจุได้ทั้งตัวเลข และ ตัวอักษร สามารถพิมพ์ได้หลายขนาด โดยแบบพื้นฐานจะรองรับอักษร A-Z ,0-9
CODE 128
เป็นระบบบาร์โค้ดที่พัฒนามาจาก Code 39 เพื่อให้มีการรองรับข้อมูลที่มากขึ้น มีขนาดแถบบาร์โค้ดที่เล็กกว่า ใช้พื้นที่ในการพิมพ์บาร์โค้ดน้อยกว่า มี Automatic Switching Setting โดยผู้ใช้งานสามารถปรับแต่งความสั้นยาวของขนาดบาร์โค้ดได้
CODE 93
เป็นโค้ดที่ไม่ค่อยมีการใช้งาน ขนาดกะทัดรัด ใช้ในงานชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิค
Interleaved 2 of 5
เป็นโค้ดที่เป็น ตัวเลขเท่านั้น มีขนาดเล็ก เพราะมีการเข้ารหัสทั้งในแถบและช่องว่าง ใช้ในกล่องกระดาษลูกฟูกในอุตสาหกรรม
ขนส่งสินค้า
EAN
EAN 13 หรือ European Article Numbering เป็นระบบบาร์โค้ดที่มีความเป็นมาตรฐานสากล ได้รับการยอมรับมากที่สุดในโลก จึงใช้สำหรับการซื้อขายสินค้าทั่วโลกเพื่อบอกข้อมูลชนิดหรือประเภทของสินค้านั้นๆ กำหนดระบบโดยองค์กร GS1 ได้รับนิยมใช้กับสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป เช่น อาหาร เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ต่างๆ
UPC
UPC ย่อมาจาก Universal Product Code ใช้มากกับสินค้าปลีกในสหรัฐและแคนนาดา อังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์
บาร์โค้ดแบบ 2 มิติ (2D)
บาร์โค้ดแบบ 2 มิติ เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนามาจากบาร์โค้ดแบบ 1 มิติ จุดประสงค์เพื่อให้สามารถบรรจุข้อมูลได้มากขึ้นจากบาร์โค้ดแบบ 1 มิติ โดยมีความจุมากกว่าถึง 200 เท่า เก็บข้อมูลได้ทั้งในแนวตั้งและแนวนอน และ ให้ข้อมูลที่นอกเหนือไปจากภาษาอังกฤษ เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน ภาษาเกาหลี หรือภาษาญี่ปุ่น เป็นต้น บาร์โค้ดแบบ 2 มิตินี้ยังมีความสามารถในการถูกถอดรหัสได้แม้ว่าบางส่วนของการพิมพ์บาร์โค้ดจะได้รับความเสียหายก็ตาม บาร์โค้ดแบบ 2 มิติที่นิยมนำมาพิมพ์บาร์โค้ดเพื่อใช้ในบ้านเรามีอยู่ 3 ชนิด คือ Data Matrix, PDF417 และ Quick Response (QR) Codes
Quick Response (QR) Codes
เรียกสั้นๆ ว่า QR Code ลักษณะเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมจัสตุรัส สามารถเก็บข้อมูลลิงก์เว็บไซต์ลงไปได้ เหมาะสำหรับใช้เป็นเครื่องมือพาไปยังฐานข้อมูลที่ให้รายละเอียดได้มากกว่า เช่น ลิงก์เว็บไซต์หรือลิงก์แอพพลิเคชั่นต่างๆ หรือใช้ในการจ่ายบิล ชำระเงิน ตั๋วเครื่องบิน เช็คอินในที่ต่างๆ
PDF417
PDF417 หรือ Portable Data File คิดค้นโดย Symbol Technologies บรรจุได้ถึงประมาณ 1100ตัว มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีแถบเริ่มต้นและแถบปิดท้าย ทำให้กินพื้นที่มากขึ้นกว่าโค้ดอื่นๆ ไม่ต้องมี Format ในการบรรจุข้อมูล สามารถใส่ได้ตามต้องการ
Data Matrix
Data Matrix เป็นระบบมาตรฐานหลักของบาร์โค้ดแบบ 2 มิติ มีลักษณะเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส เก็บข้อมูลได้มากโดยใช้พื้นที่พิมพ์น้อย เหมาะกับงานพิมพ์บาร์โค้ดที่มีพื้นที่จำกัด ต้องใช้เครื่องแสกนเฉพาะที่รองรับ เช่น กล้องมือถือ เพื่ออ่านข้อมูลในแนวเส้นทแยงมุม บาร์โค้ดชนิดนี้นิยมใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิค เครื่องใช้ไฟฟ้า อะไหล่รถยนต์ หรือเครื่องจักร
MaxiCode
ประกอบด้วย จุดเหมือนรังผึ้ง รอบๆกระจาย วงกลมตรงกลาง พบในการใช้ส่งพัสดุของสหรัฐ ต้องใส่ข้อมูลลงตาม Formatที่กำหนด